คำอธิบายรายวิชา ฟิสิกส์1


ศึกษาธรรมชาติของวิชาฟิสิกส์ ปริมาณกายภาพและหน่วย การวัด ความคลาดเคลื่อนในการวัดและการทดลองในวิชาฟิสิกส์ การบอกตำแหน่งของวัตถุ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงตัว แรงและผลของแรงที่มีต่อสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล และแรงเสียดทาน การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์การเคลื่อนที่แบบวงกลมและการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบค้นข้อมูล การสำรวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด มีความสามารถในการสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ การตัดสินใจ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม



ผลการเรียนรู้
. อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติของวิชาฟิสิกส์ ปริมาณกายภาพและหน่วยในระบบเอสไอ
. อธิบายความสำคัญของการทดลอง การวัดปริมาณกายภาพต่างๆ และการบันทึกผลการวัด
. อธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แนวตรง และปริมาณที่เกี่ยวข้อง
. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัว
. อธิบายแรงและหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรง
. อธิบายกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่
ของวัตถุ
. อธิบายกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล
. อธิบายแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง
. วิเคราะห์และอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
๑๐. วิเคราะห์และอธิบายการเคลื่อนที่แบบวงกลม
๑๑. วิเคราะห์และอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

โครงการสอนรายวิชา ฟิสิกส์๑ รหัสวิชา ว๓๑๒๒๑
ลำดับที่
ชื่อหน่วย  
การเรียนรู้
ผลการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
เวลา (ชั่วโมง)
น้ำหนักคะแนน
บทนำ
ว ๘.๑
.-/-
๑.ฟิสิกส์เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหากฎต่างๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในธรรมชาติ จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากการวัดปริมาณกายภาพด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือทางอ้อม ปริมาณที่วัดได้ประกอบด้วยค่าที่เป็นตัวเลขและหน่วยในระบบเอสไอ
๒.การทดลองมีความสำคัญต่อการค้นหาความรู้ ข้อมูลที่ละเอียดและแม่นยำจะทำให้ได้ข้อสรุปที่นำไปสู่การค้นพบใหม่ แต่ในการวัดจะมีความคลาดเคลื่อน จึงควรบันทึกผลการวัดอย่างเหมาะสมซึ่งนำไปใช้ในการนำเสนอผล การเขียนกราฟและลงข้อสรุป รวมทั้งมีทักษะในการรายงานผลการทดลอง
๑๐
การเคลื่อนที่แนวตรง
ว ๔.
.-/๓-๔

๓.ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ได้แก่ การกระจัด ความเร็ว และความเร่ง
๔.ในการเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุด้วยความเร่งคงตัว การกระจัด ความเร็ว และความเร่ง

๑๖
๒๐
แรงและกฎการเคลื่อนที่
ว ๔.
.-/๕-๘

๕.แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์กระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุมีความเร่ง การแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุอาจทำได้โดยวิธีการสร้างรูปและการคำนวณ
๖.การเคลื่อนที่โดยทั่วไปของวัตถุจะเกี่ยวข้องกับแรงที่กระทำต่อวัตถุนั้น กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเป็นกฎที่ใช้อธิบาย
การเคลื่อนที่ดังกล่าว
๒๘
๓๕
แรงและกฎการเคลื่อนที่ (ต่อ)
ว ๔.
.-/๕-๘

๗.วัตถุคู่หนึ่งๆ จะมีแรงกระทำร่วม ซึ่งเป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลโดยมวลที่หนึ่งดึงดูดมวลที่สองและมวลที่สองดึงดูดมวลที่หนึ่งด้วยแรงขนาดเท่ากันในแนวเดียวกันแต่ทิศทางตรงข้าม แรงที่กล่าวนี้ เป็นไปตามกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล
๘.วัตถุสองก้อนที่สัมผัสกัน จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นที่ผิวสัมผัสระหว่างผิววัตถุสองก้อนในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่หรือแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุขณะอยู่นิ่ง เรียกว่า แรงเสียดทานสถิต แรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุขณะกำลังเคลื่อนที่ เรียกว่า แรงเสียดทานจลน์ การเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ


การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
ว ๔.๒
.-/๙-๑๑

๙.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางเป็นพาราโบลา ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและแนวระดับพร้อมกัน การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเป็นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกทำให้มีความเร่งคงตัว ส่วนการเคลื่อนที่ในแนวระดับเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วคงตัว
๑๐.การเคลื่อนที่แบบวงกลมเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นรูปวงกลมหรือเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมโดยมีแรงกระทำเข้าสู่ศูนย์กลาง เรียกว่า แรงสู่ศูนย์กลาง
๑๑.การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเส้นทางกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยผ่านตำแหน่งสมดุลและมีคาบคงตัว และมีความเร่งแปรผันตรงกับการกระจัดจากตำแหน่งสมดุล
๒๘
๓๕
รวม
๘๐
๑๐๐






บทที่
รายการ
วัน/เดือน/ปี
คะแนนเต็ม
คะแนน
ที่ได้
บทนำ
๑.๑) แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๑


๑.๒) การทดลอง การใช้เครื่องมือวัดอย่างละเอียด


๑.๓) ทดสอบย่อย บทที่ ๑


การเคลื่อนที่
แนวตรง
๒.๑) แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๒


๒.๒) การทดลอง การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกแบบเสรี


๒.๓) ทดสอบย่อย บทที่ ๒


แรงและ
กฎการเคลื่อนที่
๓.๑)  แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๓


๓.๒) การทดลอง การหาขนาดและทิศทางของแรงลัพธ์


๓.๓) การทดลอง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับความเร่ง


๓.๔) การทดลอง แรงเสียดทาน


๓.๕) ทดสอบย่อย บทที่ ๓


การเคลื่อนที่
แบบต่างๆ        
๔.๑) แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๔


๔.๒) การทดลอง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์


๔.๓) การทดลอง การเคลื่อนที่ในแนววงกลม


๔.๔) การทดลอง การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย


๔.๕) ทดสอบย่อย บทที่ ๔


                                          สอบกลางภาค
 บทที่ ๑ บทนำ
                                                  บทที่ ๒ การเคลื่อนที่แนวตรง
                                                  บทที่ ๓ แรงและกฎการเคลื่อนที่

๒๐

                                          สอบปลายภาค
                              บทที่ ๓ แรงและกฎการเคลื่อนที่
                             บทที่ ๔ การเคลื่อนที่แบบต่างๆ        

๒๐
๑๔

รวม

๑๐๐

7 ความคิดเห็น:

  1. เยีี่ยมยอดมากอาจารย์ เว็บ 55
    นายจตุพล มีลาภา 4/3 เลขที่ 11 นะค้าบบ

    ตอบลบ
  2. เยีี่ยมยอดมากอาจารย์ เว็บ 55
    นายพัสสน อ่อนน้อม 4/3 เลขที่ 27 นะค้าบบ

    ตอบลบ
  3. สวยเว่อ -0-
    ธนาวัฒน์ บุญเพิ่ม 4/3 เลขที่ 47 คร๊าบบบ

    ตอบลบ
  4. เช็คอินนนนนนนนนนน มาเเล้วครับ
    นายวุฒิพงษ์ ตันติอภิวัฒน์ 4/2 เลขที่19 ครั่บ

    ตอบลบ
  5. ดีมากครับอาจารย์
    นาย ซุนคิต เช็น 4/3 เลขที่ 40 ครับ

    ตอบลบ
  6. เช็คอินครับ!
    นายภัทรณัฐ บุญศิริ 4/2 เลขที่17 ครับ

    ตอบลบ
  7. ใครเป็นวิทยากรสอนทำเนี่ย สวยจัง อิอิ

    ตอบลบ